Quantcast
Channel: –การศึกษาในประเทศเยอรมนี
Viewing all articles
Browse latest Browse all 6

คำแนะนำในการฝึกงานในเยอรมนีสำหรับนักเรียนฯ

$
0
0

สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (สนร. เยอรมนี) ได้จัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้น เพื่อให้นักเรียนฯ ที่ศึกษาในประเทศเยอรมนีหรือผู้ที่สนใจ ได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกงานระหว่างศึกษาของสถาบันการศึกษาในเยอรมนี พร้อมทั้งแนวทางและเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าฝึกงานในบริษัทฯ ในเยอรมนี อาทิ ตัวอย่างการเขียนใบสมัครฝึกงาน การเขียนประวัติส่วนตัว และสิ่งที่พบบ่อยระหว่างการสัมภาษณ์

สนร. เยอรมนี หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนฯ ทุกคนที่จะต้องสมัครเพื่อฝึกงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษาต่อไป

1. ประเภทของการฝึกงาน

1.1 Vorpraktikum การฝึกงานก่อนเข้าศึกษา เพื่อให้รู้ภาพรวมของสาขาวิชานั้น และรู้ความถนัดของตนเอง
1.2 Fachpraktikum การฝึกงานตามสาขาวิชาที่ศึกษา เพื่อให้เรียนรู้เนื้อหาจริงในภาคปฏิบัติ โดยมหาวิทยาลัยมักจะกำหนดเนื้อหาที่ต้องการให้นักศึกษาฝึกงานมาโดยละเอียด และหน่วยงานที่รับเข้าฝึกงานจะต้องจัดให้นักศึกษาได้ฝึกงานตามเนื้อหานั้นจนครบ
1.3 Freiwilliges Praktikum การฝึกงานตามความสมัครใจ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา เนื้องานขึ้นอยู่กับความตกลงระหว่างนักศึกษาและองค์การที่รับเข้าฝึกงาน

 

2. การส่งใบสมัครงานเชิงรุก (Initiative Application)

นอกจากการหาตำแหน่งฝึกงานซึ่งหน่วยงานต่างๆ เปิดรับสมัครผ่านช่องทางต่างๆ แล้ว การส่งใบสมัครในลักษณะเชิงรุก (Initiative Application) ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผล กล่าวคือ วิธีการนี้ นักเรียนฯ
ไม่จำเป็นต้องรอให้หน่วยงานเปิดรับสมัครก่อน แต่สามารถติดต่อหน่วยงานเพื่อส่งใบสมัครให้พิจารณาก่อนได้
• เว็บไซต์แนะนำการติดต่อและเขียนใบสมัครสำหรับ Initiative Application
https://www.monster.de/karriereberatung/artikel/die-initiativbewerbung-29687
http://karrierebibel.de/initiativbewerbung/

 

3. การเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการสมัครงาน (Job Messe) ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

การเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการสมัครงาน (Job Messe) ไม่ได้เป็นเพียงช่องทางหาข้อมูลเพื่อติดต่อ
สมัครงานภายหลังแต่อย่างเดียว แต่เป็นโอกาสที่ดีในการนำเสนอตนเองให้กับบริษัทหรือหน่วยงานที่เราสนใจด้วย
จึงควรสร้างความประทับใจแรกพบ (First Impression) ให้กับบริษัทต่างๆ ที่เราจะได้พบในวันนี้เป็นขั้นแรก
ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เสริมบุคลิกภาพ เตรียมเอกสารสมัครงานต่างๆ รวมถึงรูปถ่ายให้พร้อม รวมทั้งเอกสารเป็นกระดาษและในรูปแบบไฟล์ pdf โดยอาจเตรียมไว้ในอีเมล์พร้อมส่งทันทีชุดหนึ่ง และเตรียมไว้ใน Flashdrive อีกชุดหนึ่งในกรณีที่สถานที่จัดงานไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต

 

4. การทำความรู้จักตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัคร

นอกจากการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของตนเองแล้ว การทำความเข้าใจและวิเคราะห์รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับหน่วยงานที่ต้องการสมัครงานนั้น ก็เป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน เนื่องจากผู้สมัครจะได้ทราบว่า หน่วยงานนั้นต้องการคนที่มีคุณสมบัติอย่างไร และทำให้ผู้สมัครสามารถดึงข้อดีของตนเองออกมานำเสนอได้ตรงจุด หรือทำให้ผู้สมัครทราบว่า ทักษะด้านใดของตนเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานหรือหน่วยงาน และจะได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับคัดเลือกต่อไปได้
• เว็บไซต์แนะนำการวิเคราะห์ตำแหน่งงาน
http://www.efellows.net/Karriere/Bewerbung/Bewerbungstipps/Stellenanzeigen-richtig-lesen

 

5. การเขียนประวัติส่วนตัวแบบเยอรมัน (Lebenslauf)

การเขียน Lebenslauf ในแบบเยอรมันมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
• นิยมติดรูปถ่าย (Bewerbungsfoto) ซึ่งควรเป็นรูปถ่ายแบบทางการ แสดงถึงลักษณะเป็นมิตรและเป็นกันเอง แต่ไม่ใช่รูปหน้าตรง ลักษณะเคร่งขรึมในแบบที่นิยมกันในประเทศไทย
• นิยมระบุข้อมูลส่วนบุคคล เช่น สัญชาติ สถานที่เกิด สถานภาพสมรส ช่องทางการติดต่อ
• ช่วงเวลาระหว่างการศึกษาและการทำงานใน Lebenslauf นั้น ไม่ควรมีช่วงว่าง เช่น กรณีที่จบการศึกษาแล้ว ไม่ได้ศึกษาต่อหรือทำงานโดยทันที ต้องระบุด้วยว่า ช่วงที่ว่างอยู่นั้น มีกิจกรรมอะไร ไม่ควรจะละทิ้งไม่กล่าวถึง เพราะทำให้ประวัติของผู้สมัครขาดความน่าเชื่อถือ
• ช่วงท้ายของ Lebenslauf นิยมลงท้ายด้วยลายมือชื่อ สถานที่เขียนและวันที่ เหมือนกับการเขียนจดหมายในภาษาเยอรมัน
• เว็บไซต์แนะนำการเขียน Lebenslauf
https://www.thelocal.de/jobs/article/47649
https://graduateland.com/de/article/german-cv
http://karrierebibel.de/lebenslauf-vorlagen/
https://tabellarischer-lebenslauf.net/

• นอกจากนี้ ในทวีปยุโรปยังนิยมใช้รูปแบบการเขียนประวัติส่วนตัวแบบของ Europass ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานที่ใช้กันในหลายประเทศทั่วยุโรป สามารถหาข้อมูลการเขียนประวัติส่วนตัวแบบ Europass ได้ที่เว็บไซต์ http://europass.cedefop.europa.eu/documents/curriculum-vitae/templates-instructions

 

6. วิธีการเขียนจดหมายสมัครงาน (Cover letter)

จดหมายสมัครงานเป็นสิ่งที่อธิบายข้อมูลและทัศนคติของผู้สมัครในเชิงนามธรรม ต่างจากการเขียนประวัติส่วนตัว ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลที่เป็นรูปธรรม เช่น เรียนสาขาใด มีประสบการณ์กี่ปี มีทักษะอะไรบ้าง
โดยจดหมายสมัครงานที่ดี ควรมีรายละเอียดหลักๆ ดังนี้
• แนะนำตัวเองว่า เป็นใคร ทำไมจึงสนใจสมัครงานนี้
• อธิบายประสบการณ์และทักษะที่จะเป็นประโยชน์กับงาน รวมถึงความมุ่งหมายของเราที่มีต่องานและองค์การ เพื่อเป็นข้อมูลแก่บริษัทว่า ทำไมจึงควรเลือกเราเข้าทำงาน
• ในกรณีที่การฝึกงานนั้นไม่ได้ระบุช่วงเวลาแน่ชัด ควรแจ้งช่วงเวลาที่สามารถไปฝึกงานได้เพื่อให้หน่วยงานได้พิจารณาด้วย
• เว็บไซต์แนะนำการเขียนจดหมายสมัครงาน
https://bewerbung.co/bewerbungsschreiben
https://www.monster.de/karriereberatung/lebenslaufbewerbungsschreiben/anschreiben-muster
http://www.immigrantspirit.com/perfect-cover-letter-for-germany/
http://www.meinpraktikum.de/bewerbung/anschreiben
https://www.praktikum.info/karrieremagazin/kategorien/bewerbung

 

7. คำถามที่พบบ่อยระหว่างการสัมภาษณ์งาน

• แนะนำตัวเอง บอกถึงข้อดีข้อเสีย หรือจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง
• ประวัติการศึกษาหรือการทำงานที่ผ่านมา และจะสามารถนำมาปรับใช้กับงานที่สมัครอยู่นี้ได้อย่างไรบ้าง
• ทักษะความสามารถด้านอื่นๆ เช่น ภาษาต่างประเทศ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถ่ายภาพ ทำวิดีโอ การนำเสนอผลงาน เป็นต้น
• เป้าหมายในอนาคต
• ความคาดหวังที่มีต่อหน่วยงาน
• คำถามเฉพาะสาขาวิชา เช่น อาจให้ทดสอบการใช้โปรแกรมตามที่กำหนด หรืออธิบายเนื้อหาที่ได้เรียนมา
• คำถามทดสอบเชาว์ปัญญา มักจะเป็นคำถามที่ถามเรื่องยากๆ ซึ่งไม่สามารถหาข้อมูลได้ในเวลาจำกัดในห้องสัมภาษณ์ คำถามประเภทนี้ผู้สัมภาษณ์ไม่ได้ต้องการทราบคำตอบที่แท้จริง มากเท่ากับวิธีการคิดหาคำตอบของผู้สมัคร

 

8. เว็บไซต์สำหรับค้นหาตำแหน่งฝึกงานที่เป็นที่นิยมในเยอรมนี

https://www.praktikum.info/praktikumsplatz/thema/praktikumsboerse
http://www.praktikumsstellen.de/
http://karriere.unicum.de/

หมายเหตุ: หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม นักเรียนฯ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สนร. เยอรมนี ระหว่างวันและเวลาทำการ
**************************************

สนร. เยอรมนี
กุมภาพันธ์ 2560


Viewing all articles
Browse latest Browse all 6

Latest Images

Trending Articles





Latest Images